สวัสดีเพื่อนๆ นักขายของออนไลน์ ทุกคนครับ
เป็นอย่างไรกันบ้าง หลังจากเริ่มปี 2021 ได้ไม่นาน ยอดขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง มาแชร์กันได้นะครับ
สำหรับเพื่อนๆที่ขายสินค้าผ่าน Lazada/Shopee วันนี้ผมจะมาแนะนำ และรีวิวการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์และเพิ่มยอดขายในระบบของ Lazada Seller Center และ Shopee Business Insight แบบหมดเปลือก พร้อมทั้งอัพเดทเทรนด์และสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นใน Platform ของ Lazada และ Shopee กันครับ
เรามาเริ่มกันที่ Lazada กันก่อนเลยครับ

เพื่อนๆที่ขายของบน Lazada อยู่แล้ว คงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับหน้าจออันนี้เป็นอย่างดี เพราะในทุกๆออเดอร์ที่เข้ามา เราจะต้องเข้าไปจัดการออเดอร์ รวมทั้งการตอบแชทและตอบคำถามจากลูกค้าของเรา แต่ยังมีฟังก์ชั่นต่างๆในระบบ Seller Center นี้ที่ยังไมค่อยมีคนพูดถึงมากนัก แต่มีความสำคัญในการวิเคราะห์สินค้า และการวางแผนพัฒนากลยุทธ์ในลำดับต่อไป เมนูที่ใช้ดูข้อมูลเหล่านี้ก็คือ เมนู ”วิเคราะห์ธุรกิจ” และหน้าตาของเมนูก็จะเป็นแบบนี้

โดยหน้า dashboard หลักๆจะเป็นการแสดงข้อมูลตัวเลขของ ยอดขาย ยอดผู้เข้าชม ผู้ซื้อ คำสั่งซื้อแบบ Real time ซึ่งเคล็บลับการวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับยอดขายนั้นจะอยู่ที่เมนู “ยอดเข้าชม” พื้นฐานการสร้างยอดขายแบบเบสิกที่ทาง Lazada แนะนำ เป็นพื้นฐานสมการง่ายๆ
ยอดขาย = ยอดผู้เข้าชม x Conversion Rate x BasketValue
ดังนั้น หนึ่งในวิธีการเพิ่มยอดขายที่ง่ายที่สุดคือ การเพิ่มยอดผู้เข้าชม (Traffic) โดยวิธีการเพิ่มผู้เข้าชมในช่องทางของ Lazada นั้นมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น
- การทำ e-commerce SEO บนหน้ารายละเอียดสินค้าของคุณ
- การโปรโมทโฆษณาโดยเลือก Objective ให้ลูกค้ากดเข้ามาที่หน้ารายละเอียดสินค้าบน Lazada เป็นต้น
- การเข้าร่วมแคมเปญลดราคา
ซึ่งเครื่องมือใหม่ที่ Lazada ได้นำเสนอเกี่ยวกับเมนู “ยอดเข้าชม” นี้ก็คือ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงถึงที่มาของผู้เข้าชมทั้งหมดในร้านของคุณว่า เขาเข้ามาจากช่องทางไหนบ้าง โดยหลักๆแล้วร้านค้าที่มีคุณภาพจะมีแหล่งที่มาของยอดเข้าชมจาก Direct Search Bar เป็นส่วนใหญ่ นั่นหมายถึงสินค้าชิ้นนั้นๆในร้านของเราถูกแสดงในผลการค้นหาของลูกค้าที่กำลังค้นหาสินค้า ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำคัญในการรักษา Search Position โดยเราสามารถกดเลือกช่วงระยะเวลาที่ต้องการดูข้อมูลได้ ในส่วนที่สองที่เป็นเคล็ดลับการวิเคราะห์ร้านค้า คือ “สินค้า” ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์สินค้าเป็นรายตัวได้ว่าชิ้นไหนขายดีและชิ้นไหนขายไม่ดี 100 อันดับแรก แต่ในเครื่องมือนี้มีรายละเอียดที่มากกว่านี้อีก ในการวิเคราะห์สินค้า จะมีเมนู “ประสิทธิภาพ” ที่ให้ทุกคนสามารถกดเลือกข้อมูลที่ต้องการรู้เกี่ยวกับสินค้าที่เราขายอยู่ได้ ดังนี้

ซึ่งปกติเราก็จะเช็คตัวเลขต่างๆออกมาได้หลายชุด แต่วันนี้ผมจะมาแนะนำเคล็ดกับการวิเคราะห์เฉพาะตัวเลือกที่สำคัญที่มีผลกับยอดขายของร้านค้าโดยตรง โดยให้ทุกคนกดติ้กถูกที่เมนูเหล่านี้ครับ
- ยอดเข้าชมสินค้า
- คำสั่งซื้อ
- ยอดขาย
- อัตราการซื้อต่อการเข้าชม
โดยข้อมูลทั้งหมดจะมีส่วนกับยอดขายโดยตรง โดยอ้างอิงจากสมการยอดขาย
ส่วนมากสิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ขายอย่างเราๆมากก็คือ อัตราการซื้อสินค้าต่อการเข้าชม ต่ำ หรือ Conversion Rate น้อย พูดง่ายๆว่า สินค้ามีคนเข้าดูจำนวนมาก แต่กลับเกิดการสั่งซื้อในสัดส่วนที่น้อยจนถึงน้อยมาก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า คนที่กดเข้ามาดูรายการสินค้านั้น เป็นกลุ่มลูกค้าที่ไม่ตรงกลุ่ม วิธีการแก้ไขคือ อาจจะลองศึกษากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจให้ชัดเจนก่อน หรือ การแก้ไขหมวดหมู่สินค้าที่เราลงขาย
เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ผมแนะนำว่าให้เลือกช่วงเวลาการดึงข้อมูลตั้งแต่ 1-2 อาทิตย์ หรือระดับเดือน เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขแบบ Real time ที่ Lazada แนะนำอาจจะไม่ทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนว่า สิ่งที่เราควรแก้ไขมากที่สุดคือส่วนใด นอกจากนี้ Lazada ยังมีการดึงข้อมูล API จากช่องทางอื่นเพื่อเปรียบเทียบสินค้าของร้านค้าเรา เทียบกับร้านค้าอื่น ที่สินค้าถูกกว่า โดยจะใช้ชื่อเมนูนี้ว่า ปัญหา โดยจะมีเมนูแยกประเภทของสินค้าที่มีปัญหาต่างๆดังนี้

โดยเกณฑ์การประเมินจะมีหลายๆปัจจัย เช่น ไม่ใช่ราคาที่ถูกที่สุด สินค้าที่หมดสต้อก สินค้าที่ได้รีวิวไม่ดี เป็นต้น ซึ่งในแต่ละส่วนจำเป็นมากๆที่จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้สินค้าและร้านค้าของทุกคนมีอันดับการแสดงผลที่ดีขึ้น และมียอดขายที่มากขึ้น
อีกส่วนสุดท้ายที่ผมอยากจะแนะนำเหล่านักขายก็คือเมนู โปรโมชั่น โดยเมนูนี้จะเป็นสิ่งที่บอกว่า การที่ร้านค้าออกโค้ดส่วนลดสินค้าต่างๆแต่ละตัว ได้ถูกใช้ไปกี่ครั้งภายในระยะเวลาหนึ่งๆ (ที่สามารถเลือกดูข้อมูลได้) ซึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่คือเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของผมคือ ลูกค้าไม่ค่อยรู้ว่าที่ร้านค้ามีโค้ดส่วนลดให้ ดังนั้นร้านค้าอาจจะต้องหาวิธีการสื่อสารการตลาดบางอย่างให้ลูกค้ารับรู้ได้โดยง่าย เช่น การมี Banner บอกส่วนลดในหน้าตกแต่งร้านค้า
จบแล้วนะครับ สำหรับเทคนิค ต่างๆ วิเคราะห์สินค้าใน Lazada จริงๆ มีเทคนิคอื่นๆที่ผมไม่ได้เขียนออกมาอีก แต่อาจจะไม่ได้สำคัญมากนัก ถ้าหากพวกคุณใส่ใจร้านค้าของตัวเอง ทำตามสิ่งที่ผมแนะนำ รับประกันเลยว่า คุณจะมีไอเดียวิธีการต่อยอดธุรกิจของคุณ และหาทางเพิ่มยอดขายได้อย่างแน่นอนครับ
ถ้าคุณสามารถวิเคราะห์บน Lazada ได้แล้ว เดี๋ยวจะพาไปดู Business Insight ของ Shopee ต่อกันเลยครับ
การขายของในช้อปปี้เอง ก็จำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์เช่นกัน โดยหลักกการดูข้อมูลต่างๆสามารถใช้วิธีเดียวกับเนื้อหาข้างบนได้เลย

โดยเราสามารถดูหมวดสินค้าแยกได้เช่นกัน และสามารถเลือกตัวชี้วัดได้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง (พื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูลเหมือนกันกับ Lazada เลยครับ)

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็ คือ การลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ และไม่ท้อครับ ของบางอย่างมันต้องใช้เวลาครับ โดยเฉพาะการขายของบน Lazada/Shopee แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือคุณต้องหมั่นคอยตรวจสอบข้อมูลหลังบ้านเหล่านี้ทุกๆอาทิตย์ครับ เพื่อที่คุณจะได้รู้สถานะร้านค้าของคุณตอนนี้ยังขาดตรงไหน และต้องปรับปรุงตรงไหนเพิ่มเติมครับ
และแน่นอนว่า เมื่อคุณอ่านบทความนี้จนมาถึงตรงนี้ คงจะอยากรู้ต่อไปแล้วใช่มั้ยครับ ว่าถ้าเราจะเพิ่มยอดขายใน Lazad/Shopee จะต้องทำอย่างไรบ้าง ผมขอยกตัวสมการยอดขายให้คุณเห็นอีกครั้งนะครับ
ยอดขาย = ยอดผู้เข้าชม x Conversion Rate x BasketValue
วิธีที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มยอดขาย นั่นก็คือ การเพิ่มยอดผู้เข้าชมสินค้า (และร้านค้า) ซึ่งผมอยากจะบอกตรงนี้เลยว่า ในเครื่องมือของ Lazada/Shopee ได้แบ่งหมวดหมู่เอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เหล่าผู้ขายใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผมเองได้รวบรวมเนื้อหาทั้งหมด และใส่มุมมองความคิดเห็นจากประสบการณ์การขายของออนไลน์ตลอด 6 ปีเอาไว้ด้วย นอกจากคุณจะรู้จักเครื่องมือแล้ว ผมจะช่วยคุณใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถ้าอยากรู้แล้วละก็ กดคลิก ที่นี่ ได้เลยครับ
ทุกท่านสามารถติดตามบทความและ Live พิเศษได้ที่ Facebook Group นี้ครับ https://www.facebook.com/groups/2918107295134980