Digital Transformation – หัวใจในการเติบโตสำหรับองค์กร
คำว่า Digital Transformation เป็นคำที่เราได้ยินกันหนาหูพอสมควรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เทรนด์ยุคดิจิตอลเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยมากขึ้น โดยหลากหลายหน่วยงานตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นอย่างมากในการผลักดันองค์กรและบริษัทของตนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างทันสมัยมากขึ้น แต่เราจะสังเกตได้ว่ามีเพียงไม่กี่องค์กรที่สามารถสร้าง Digital Transformation องค์กรได้ หรืออย่างน้อยๆคือบริษัทยังอยู่ในกระบวนการของ Digital Transformation อยู่นั่นเอง จากผลสำรวจของ Forbes ในการทำ Digital Transformation ในองค์กรพบว่า 84% ขององค์กรและบริษัทล้มเหลวในการใช้กลยุทธ์นี้ และจากผลสำรวจพบว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในองค์กรแบบ Digital Transformation มีความท้าทายสูง และโอกาสในการประสบความสำเร็จน้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรแบบทั่วๆไป (Conventional Transformation) ซึ่งทั้งหมดนี้เราได้วิเคราะห์และประเมินให้ทุกท่านได้เข้าใจความหมายของ Digital Transformation ในแบบที่ง่ายขึ้น และสิ่งที่จะเป็น Key Success ในการทำ Digital Transformation ในองค์กรนั้นมีอะไรบ้าง
References : bain.com
นิยามของ Digital Transformation
เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้เครื่องมือต่างๆในการพัฒนาองค์กรและบริษัทนั้นนับเป็นหนึ่งในกระบวนการ Transformation อย่างชัดเจน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. Thriving Transformation
โดยการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและธุรกิจให้ดีขึ้นทั้งในด้านการประสานงานภายในองค์กรการเข้าถึงข้อมูลและการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและบริการโดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้คือการนำเครื่องมือดิจิตอลมาช่วยให้ธุรกิจดีขึ้นในหลายๆด้านเพื่อต่อยอดธุรกิจตัวอย่างเช่นบริษัทหนึ่งขายเครื่องสำอางค์โดยประเมินยอดขายจากหน้าร้านของ Dealer ของเราซึ่งวัดผลได้ยากกว่าอะไรที่ดึงดูดให้ลูกค้าซื้อเครื่องสำอางค์ของเราแต่บริษัทเครื่องสำอางค์นี้สามารถใช้ Digital Transformation ได้ด้วยการเปลี่ยนสถานที่ขายจากหน้าร้าน Dealer เป็นหน้าเว็ปไซต์ Ecommerce ของตัวเองโดยข้อมูลที่เกิดขึ้น Transaction ที่เกิดขึ้นบนเว็ปไซต์สามารถวัดผลออกมาเป็นตัวเลขได้ชัดเจนและส่งผลต่อการสร้างกลยุทธ์การตลาดในครั้งต่อไปได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
2. Disrupting Transformation
การใช้เครื่องมือดิจิตอลต่างๆในการสร้างรายได้ให้กับบริษัทในช่องทางใหม่หรือพูดง่ายๆว่าใช้เครื่องมือนั้นสร้าง Revenue Model ใหม่ให้กับองค์กรไม่ใช่แค่เพียงการต่อยอดธุรกิจเดิมอีกต่อไปซึ่งการ Disrupt ธุรกิจนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าเพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อส่วนงานในบริษัทและบุคลากรเช่นธนาคารที่เดิมทีการทำธุรกรรมต้องไปที่สาขาเท่านั้นซึ่งปัจจุบันทุกๆธุรกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียวเดิมการสร้างความประทับใจของธนาคารขึ้นอยู่กับผู้จัดการสาขาแต่ทุกวันนี้โจทย์ที่ท้าทายของธนาคารก็คือการสร้างประสบการณ์ความประทับใจให้ได้บนการทำธุรกรรมผ่านมือถือของทุกคนที่ใช้เวลาน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต
เชื่อว่าหลายท่านเริ่มเข้าใจการทำ Digital Transformation กันมากขึ้นแล้ว เราเลยอยากให้ทุกท่านได้มองเข้าไปในบริษัท องค์กรของทุกท่านเองว่าตอนนี้องค์กรของเราตอนนี้ สามารถใช้ Digital Transformation ในด้านใดได้บ้าง
Key Success ของ Digital Transformation
หัวใจขององค์กรอยู่ที่ “ผู้นำองค์กร”
ต้องยอมรับว่า การทำ Digital Transformation นั้นเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควรกับองค์กรต่างๆในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆได้ โดยองค์กรจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลย หากผู้นำองค์กรไม่ได้สร้างความเป็น digital ให้กับองค์กร ซึ่งในหลายๆเคสของ Digital Transformation มันคือความเป็นไปได้ของธุรกิจที่สามารถเกิดขึ้นบนข้อมูลต่างๆที่ตรวจสอบได้ แน่นอนว่ามันมีความเสี่ยงทุกๆครั้งที่จะทำในสิ่งที่เราไม่คุ้นชิน แต่หากเรามองว่านี่คือโอกาสที่บริษัทและองค์กรของเราจะเติบโตไปอีกระดับที่แม้แต่ผู้บริหารเองยังคาดไม่ถึง ซึ่งวิธีถัดไปนี้จะทำให้ผู้บริหารทุกท่านนำไปพิจารณาเกี่ยวกับ Digital Transformation อย่างแน่นอน
เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ
แน่นอนว่า จากข้อมูลข้างต้นนั้น ความเสี่ยงในการทำ Digital Transformation นั้นต้องยอมรับว่าอยู่ในความเสี่ยงที่สูง ดังนั้นการบริหารงานในระดับกรรมการ คือ การเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ เพื่อให้เห็นผลจากการทำ Digital Transformation นั้นๆก่อน ซึ่งถ้าหากเห็นผลลัพธ์ชัดเจนไปในทางที่ดี นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขยาย Digital Transformation ให้กว้างขึ้นในองค์กร ยกตัวอย่างเช่น งบประมาณบริษัทปีนี้ 1,000,000 บาท โดยแบ่งส่วนสำหรับทดลองโปรเจกการใช้ Software ใหม่ภายในองค์กรสำหรับการจ่ายงานระหว่างแผนก ใช้งบเริ่มต้น 30,000 บาท (คิดสัดส่วนเป็น 3% ของงบทั้งปี) บนกรอบเวลาที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป (1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรม)
กรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจมากคือบริษัท SCG ที่เปลี่ยนจากองค์กรธรรมดาทั่วไป ให้มีความตื่นตัว มี Dynamic ภายในองค์กรมากขึ้นจากการที่ผู้บริหารเริ่มต้นเพียง การเปลี่ยนภาพลักษณ์ภายในองค์กร เช่น ยกเลิกการเรียก คุณ และให้ใช้คำว่า พี่-น้อง แทน ทำให้องค์กร SCG ในปัจจุบันเป็นองค์กรระดับแนวหน้าที่หลายๆคนอยากร่วมงานด้วย สังเกตว่าการเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยที่มาจากผู้บริหาร สามารถสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรได้ในระยะยาว
โครงสร้างองค์กรที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป
แน่นอนว่าหากคุณอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้นต้องใช้เวลามากพอสมควร ทั้งนี้ บางครั้งการ Transformation สามารถเกิดขึ้นได้ภายในองค์กรจากคนรุ่นใหม่ ( Millennials ) ซึ่งหลายครั้งที่ไอเดียที่น่าสนใจถูกเสนอจากพนักงานระดับกลาง-ล่าง และผ่านกระบวนการมากมายจนกว่าจะถึงผู้บริหาร ทำให้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้นล่าช้ากว่าปกติมากพอสมควร
กรณีศึกษาอันหนึ่ง เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2561 บริษัทของเราได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสัมนาเกี่ยวกับเทรนด์ดิจิตอลในปี 2561 นี้และมีโอกาสได้ฟังคุณชลากรณ์ ปัญญาโฉมประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี บริษัท WorkPoint จำกัด เล่าถึงประสบการณ์หรือ Case Success ของการทำ Transformation ในบริษัท สิ่งหนึ่งที่คุณชลากรณ์ ได้กล่าวไว้คือ โครงสร้างองค์กรของเขาไม่สูง มีเพียง 3 Layer เท่านั้น ดังนั้นการอนุมัติงานต่างๆทั้งจากทีมงาน หัวหน้างาน และผู้บริหารนั้นใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ ทำให้ Workpoint เป็นหนึ่งในบริษัท “สื่อ” ที่ปรับตัวเร็วและกลายเป็นผู้นำเทรนด์สื่อดิจิตอลทีวีอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
แน่นอนว่าการปรับตัวต่างๆที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต่างๆต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดในระยะยาว แต่สุดท้ายนี้ต้องบอกเลยว่า Digital Transformation นั้นเหมาะกับทุกองค์กร เพียงแต่เราต้องเลือกส่วนที่เหมาะสมกับธุรกิจเป็นหลัก โดยการใช้เครื่องมือดิจิตอลมาช่วยการทำงานหรือการสร้างยอดขายนั้นสามารถทำได้ง่ายกว่า ยกตัวอย่างกรณีศึกษาลูกค้ารายหนึ่งของบริษัท A2Commerce.co ที่เลือกใช้สื่อ LINE@ ในการโปรโมทนำเสนอโปรโมชั่น และทำ Market Research ซึ่งผลลัพธ์ออกมาด้วยการเพิ่มยอดขายขึ้น 12% ภายในเวลา 1 เดือนอย่างเหลือเชื่อ ดังนั้นเราเชื่อมั่นว่าทุกๆองค์กรสามารถทำ Digital Transformation ได้ ซึ่งหากท่านอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือบุคลากรที่เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับ Digital Transformation สามารถติดต่อเราได้ตามข้อมูลด้านล่างนี้